วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อฝึกทักษะทางภาษา


การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนเป็นวิธีจัดการเรียนการสอนวิธีหนึ่งที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวถ่ายทอดเนื้อหาหรือบทเรียนไปสู่ผู้เรียน มีบทบาทในการช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มากขึ้น และสามารถตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้ จึงทำให้ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างกว้างขวาง คำที่นิยมใช้เรียกคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมี 2 คำ คือ CAI : Computer-Assisted Instruction กับ CAL : Computer-Assisted Learning โดยคำว่า CAI นิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา และ CAL นิยมใช้ในยุโรป แต่มีความหมายอย่างเดียวกัน (วสันต์ จันทโรภพ 2536 : 12-13) และต่อมาได้มีการพัฒนานำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มีชื่อเรียกว่า CALL : Computer-Assisted Language Learning (ผ่าน บาลโพธิ์ 2534) มีผู้กำหนดความหมายของ CALL ไว้หลายอย่าง
สามารถสรุปได้ว่า หมายถึงเทคโนโลยีสื่อการสอนที่ทันสมัยซึ่งอยู่ในรูปของซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ ที่ครูใช้เพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ต่างกัน โดยใช้เพียงสื่อการสอนชนิดหนึ่งในชั้นเรียนเท่านั้น ไม่สามารถใช้สอนแทนครูทั้งหมดได้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษามีการพัฒนาควบคู่กับทฤษฎีทางการเรียนรู้และวิธีการสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งวอร์ชาเออร์ (Warchauer อ้างอิงใน Torut 1999) ได้แบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้
1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาในยุคพฤติกรรมนิยม (Behavioristic CALL) ยึดถือทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม ให้ความสำคัญกับการฝึกฝนซ้ำ ๆ ซอร์ฟแวร์ส่วนใหญ่เป็นแบบฝึกหัดเพื่อปฏิบัติและฝึกฝน คอมพิวเตอร์เป็นเหมือนผู้ช่วยสอน (Tutor) กิจกรรมในการเรียนรู้ส่งเสริมความถูกต้องของภาษามากกว่าความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา มีจุดอ่อนที่ยังไม่ได้รับการยอมรับในเชิงเหตุผลและการสอนจากทั้งนักทฤษฎีและนักปฏิบัติ
2. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาในยุคภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative CALL) ให้ความสำคัญกับการสื่อสารที่แท้จริงมากกว่าการฝึกฝนและการทำแบบฝึกหัด นำเสนอกิจกรรมทุกอย่างบนคอมพิวเตอร์ ให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่มีรูปแบบของการฝึกฝนภาษาซ้ำ ๆ ใช้วิธีการสร้างข้อความใหม่ ๆ ในการอ่านเพื่อชี้นำ ให้แบบฝึกหัดเติมคำในช่องว่าง มีจุดอ่อนที่คอมพิวเตอร์ยังไม่ได้บูรณาการเข้ากับหลักสูตรอย่างเต็มที่ การนำมาใช้ส่วนใหญ่เป็นการทดลอง ยังไม่ได้ใช้เป็นพื้นฐานของการศึกษาโดยรวม
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาในยุคบูรณาการแบบสื่อหลากหลาย (Integrative CALL Multimedia CD-ROM) ซอฟแวร์ประกอบด้วยสื่อหลายประเภท เช่น ข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และเทปโทรทัศน์ มีการพัฒนาซอฟแวร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น Toolbook, Authoware และ Director ให้ใช้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างจากแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจจากภายในของนักเรียน กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ มีการรวบรวมสื่อหลายหลายไว้ด้วยกัน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และประเมินความก้าวหน้าได้ด้วยตนเอง สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ภาษาอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นจริงมากขึ้น ผู้เรียนได้ใช้ทักษะทั้งสี่ด้านของภาษา คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้บทเรียนต่าง ๆ เช่น คำอธิบายไวยากรณ์ อภิธานศัพท์ การออกเสียง และแบบฝึกหัด เป็นต้น
4. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาในยุคบูรณาการอินเตอร์เนต (Integrative CALL-Internet) มีลักษณะเป็นที่รวบรวมสื่อหลากหลายประเภทจากอินเตอร์เนต เช่น ข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และวีดีทัศน์ มีการเชื่อมแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทางอินเตอร์เนตเข้าด้วยกันด้วยความเร็วสูง ยึดตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร สร้างแรงจูงใจจากภายในของนักเรียนเพื่อการสื่อสารที่เป็นธรรมชาติ กระตุ้นให้มีกิจกรรมระหว่างผู้เรียนและผู้ใช้อินเตอร์เนตทั่วโลก สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ภาษาอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นจริงมากขึ้น ผู้เรียนได้ใช้ทักษะทั้งสี่ด้านของภาษา ให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่หลากหลายและวัฒนธรรมที่ต่างกัน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถแบ่งเป็น 7 ประเภท ดังนี้ (Torut 1999 ; วารินทร์ รัศมีพรม 2531 ; Heinich, Molenda and Russell 1993) คือ
1. แบบฝึกหัดหรือปฏิบัติ (Drill and Practice)
2. แบบสอนเนื้อหา (Tutorial)
3. แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation)
4. แบบสาธิต (Demonstration)
5. แบบเกมการสอน (Instructional Games)
6. แบบทดสอบ (Test)
7. แบบแก้ปัญหา (Problem Solving)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประโยชน์มากมายทั้งต่อผู้สอน ผู้เรียนและการจัดการเรียนการสอน ซึ่งกล่าวโดยสรุปคือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาอังกฤษคือสื่อการสอนที่เป็นผู้ช่วยครูในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ทางภาษา และส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน นักเรียนสามารถเลือกบทเรียนที่เหมาะสมกับตัวเองได้ และมีการเรียนรู้เป็นขั้นตอนตามโปรแกรม (ประพันธ์ กาวิชัย 2540 ; กิดานันท์ มะลิทอง 2536 ; กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ 2536 ; สมบูรณ์ บูรณ์ศิริรักษ์ 2539 ; Galavis 1998 ) แต่ในขณะเดียวกัน คอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องจักรชนิดหนึ่ง ย่อมต้องมีข้อจำกัด เช่น ต้องมีการลงทุน โปรแกรมคอมพิวเตอร์มีน้อย เพิ่มภาระแก่ผู้สอนในการจัดเตรียมโปรแกรม บทเรียนมีการจัดลำดับการเรียนอย่างตายตัว ครูผู้สอนภาษามักขาดความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ บทเรียนคอมพิวเตอร์ทำให้นักเรียนขาดทักษะทางสังคม เป็นต้น (โชคชัย นันทะ 2540 ; สุพัฒน์ สุกมลสันต์ 2531 ; กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ 2536 ; Galavis 1998) ดังนั้น การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในชั้นเรียนจึงต้องคำนึงถึงข้อจำกัดที่มีของสื่อประเภทนี้ด้วย
http://web.bsru.ac.th/~tassanai/data1/kasama.doc

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เริ่มต้นใช้บล็อก

1.บล็อกคืออะไร
Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง

2.ประโยชน์ของบล็อก
1.ส่งงานได้รวดเร็ว
2.เก็บข้อมูลไว้ศึกษาทีหลังได้
3.ให้ผู้อื่นศึกษาต่อได้
4.สามารถมีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นความรู้ใหม่ๆได้ด้วย


3.ตัวอย่างของบล็อก { รูปภาพ }



4.จงเขียนชื่อผู้ให้บริการ Blog ในประเทศไทย
- Blognone บล็อกสำหรับเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีอย่างเดียว
- เอ็กซ์ทีน
-
GotoKnow
- learners.in.th
-
บล็อกแก๊ง
-
โอเคเนชั่น
6.Blogมีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง
1. ชื่อบล็อก (ฺBlog Title) ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อบล็อกนั้น ๆ
2. แท็กไลน์ (Subtitle หรือ Tag line)ตรงส่วนนี้จะเป็นคำจำกัดความของเว็บ หรือสโลแกนเก๋ ๆ ที่ใช้อธิบายถึงตัวบล็อกโดยรวม โดยตัวแท็กไลน์นี้ จะมีก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ เพราะมันไม่สำคัญเท่ากับชื่อบล็อก
3. วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)เป็นวันที่ และบางทีอาจมีเวลากำกับอยู่ด้วย ตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไหร่ บางครั้งอาจมีวันที่ระบุอยู่ในส่วนของ comment ด้วย ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกว่า comment นั้นเขียนเข้ามาเมื่อไหร่เช่นกัน
4. ชื่อบทความ (Entry Title)ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก
5. ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body)อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรืออนิเมชั่น เป็นต้น โดยส่วนประกอบเหล่านี้จะรวมเป็นส่วนเนื้อหาของบทความ
6. ชื่อผู้เขียน (Blog Author)บางบล็อก อาจมีการระบุชื่อผู้เขียนไว้ในบล็อกด้วยครับ โดยตำแหน่งที่จะใส่ชื่อผู้เขียนนั้น สามารถไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ เช่นด้านข้างของหน้าบล็อก (sidebar) หรืออยู่ในตัวบทความก็ได้
7. คอมเม้นต์ (Comment tag)เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอกคอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ หรืออ่านคอมเม้นต์ ที่มีคนเขียนคอมเม้นต์เข้ามา
8. ลิงค์ถาวร (Permalink)เรียกชื่อไทยแล้วเขิ้นเขิน เราสามารถเรียกทับศัพท์ก็ได้ครับว่า เพอร์มาลิ้งค์ เจ้าลิงค์ตัวนี้คือลิงค์ที่ไปหา url ของบทความนั้น ๆ โดยตรงครับ มีประโยชน์สำหรับ blogger คนอื่น ๆ ที่อยากจะทำลิงค์หาบทความของเราโดยตรง ก็จะสามารถหา permalink ได้อย่างง่ายดายครับ โดย url ของ permalink นี้จะไม่เปลี่ยนไปตามวันและเวลาเหมือน link ของหน้าแรกของบล็อกที่บทความจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ครับ นี่แหละครับที่เค้าเรียกว่า ลิงค์ถาวร
9. ปฎิทิน (Calendar)บล็อกบางแห่งอาจมีปฎิทินอยู่ด้วย โดยในปฎิทินนั้นสามารถคลิกตามวันที่ เพื่ออ่านบทความของวันที่นั้น ๆ ได้สะดวกครับ
10. บทความย้อนหลัง (Archives)บทความเก่า หรือบทความย้อนหลัง อาจมีการจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อก โดยบล็อกแต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลัง ไม่เหมือนกัน เช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้
11. ลิงค์ไปยังเว็บอื่น (Links)เป็นจุดเด่นและความสนุกของบล็อกอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียวครับ โดยบล็อกแต่ละแห่ง อาจมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นหลากหลายเว็บ บางครั้งเราสามารถเรียก link พวกนี้ว่า blogroll ก็ได้
12. RSS หรือ XMLตัว RSS นี้อาจมีเตรียมไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับ Blogware หรือ Blog Host ที่เราเลือกใช้ เช่น WordPress หรือ MovableType นั้นจะมี RSS ลิงค์ไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ โดยเจ้า RSS Feed นี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงบทความของเราได้ง่ายขึ้น โดยการใช้โปรแกรมช่วยอ่าน Feed ได้ด้วย บางครั้งนักเขียน Blog คนอื่น ก็อาจใช้ RSS Feed นี้เพื่อประโยชน์ในการดึงข้อมูลไปแสดงในเว็บ หรือบล็อกของตนได้
7.จากการเรียนการอนในวันนี้สิ่งที่นักศึกษาได้คือ
7.1 E-Mail Address ของนักศึกษาคือ yaya.pretty@gmail.com
7.2 WEB BLOG ของนักศึกษาคือ sureerad.blogspot.com
8.ให้นักศึกษาอธิบายการสร้าง Blog มาอย่างละเอียด
1.เข้าไปที่ http://www.blogger.com/จะแสดงหน้าจอแบบนี้ ให้คลิกที่ สร้างเว็บบล๊อกของท่านเดี๋ยวนี้
2.เมื่อท่านคลิกนี้ จะปรากฎเป็นรูปเว็บบล็อก
3. ให้ใส่รายละเอียด-ที่อยู่อีเมล : (จากที่ท่านได้สมัคร Gmail มาแล้วก่อนหน้านี้)-Enter Password : (ใส่รหัสผ่าน)-พิมพ์รหัสผ่านอีกครั้ง-Displya name (ตั้งชื่อที่จะให้แสดงตอนโพสเว็บบล็อก)-พิมพ์ตามอักษรที่ปรากฎให้ถูกต้อง-คลิกดำเนินต่อไป
4.จากนั้นให้ตั้งชื่อ เว็บบล็อกของท่าน-คลิกที่ตรวจสอบ เพื่อตรวจเช็คดูว่า มีใครใช้ชื่อนี้ไปหรือยัง ถ้ามีแล้วระบบจะแจ้งเตือนว่าใช้ไม่ได้ และจะมีตัวเลือกให้เราโดยอัตโนมัต ถ้าชอบใจตัวไหน ก็คลิกที่ชื่อด้านล่างตัวนั้นได้ แต่ถ้าต้องการชื่ออื่นอีกก็ตรวจสอบจนกว่าจะได้ชื่อที่คุณพอใจ เมื่อได้ชื่อตามที่ต้องการแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อไป
5.จากนั้นจะเข้าสู่การเลือกแม่แบบว่า เราต้องการเว็บบล็อกรูปแบบไหน มีให้เลือกมากมายตามต้องการสามารถคลิกเพื่อดูตัวอย่างแม่แบบได้ เมื่อได้แม่แบบตามที่เราชอบแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อไปต่อไปกดเริ่มต้นการส่งบทความทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า Google AdSense ยังไม่รองรับเว็บไซต์ภาษาไทย แต่ในอนาคตคาดว่า ทาง Google AdSense จะยอมรับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่เป็นภาษาไทย ดังนั้น ควรนำเว็บบล็อกที่มีเนื้อหาภาษาอังกฤษมาทำการสมัครให้ผ่านก่อน โดยไปหาเนื้อหาภาษาอังกฤษ ได้ที่นี่ โดยคุณควรจะเลือกทำเรื่องใดเรื่อง